กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ #1 | Strategies for Psychological Healthy Workplaces #1

คงเป็นเทรนด์ในยุคสมัยนี้ที่เริ่มพูดกันว่า “ผลลัพธ์ของงานที่ดี เริ่มที่สุขภาพของคนในองค์กร” โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ “เทรนด์ด้านสุขภาพจิต”

ตอนที่ 1: Focus

โดย นักจิตวิทยาการปรึกษา คุณเจ เจษฎา กลิ่นพูล | Counseling Psychologist @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร

คงเป็นเทรนด์ในยุคสมัยนี้ที่เริ่มพูดกันว่า “ผลลัพธ์ของงานที่ดี เริ่มที่สุขภาพของคนในองค์กร” โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ “เทรนด์ด้านสุขภาพจิต” ก็เริ่มเป็นสิ่งที่ถูกให้ความสนใจกันมากขึ้น

โดยในการพูดถึงสุขภาพจิตของพนักงานในองค์กรแล้ว คงต้องเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบอกว่า มีความสัมพันธ์กันพอสมควรระหว่างความสุขของพนักงานและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานคนนั้น เมื่อพนักงานมีความพึงพอใจกับงานที่ทำอยู่มาก มีความเครียดอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือสามารถรับมือกับปัญหากวนใจของตัวเองได้ในระดับที่ดีแล้วเนี่ย ก็จะไม่มีอะไรที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานให้ได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย รวมไปถึงอัตราการขาดงาน ลาป่วย หรือลาออกของพนักงานก็จะลดต่ำลงไปด้วย เนื่องจากพนักงานเหล่านี้มีความสุขกับการทำงานในองค์กรนั้น

สิ่งเหล่านี้เอง ทั้งความสุขของพนักงานและอัตราการลาออกของพนักงานที่ลดลง ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรได้อีกด้วย


อะไรคือ Psychological Healthy Workplace?

การพูดเรื่องสุขภาพใจหรือความสุขของพนักงาน ถือว่าเป็นการพูดถึงปัจจัยทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ซึ่งการเสริมสร้างปัจจัยทางจิตวิทยานี้ให้กับพนักงานในองค์กรได้ สิ่งที่เราต้องพูดถึงก็คือการสร้าง “สังคมการทำงานที่ดีต่อใจ” หรือ “Psychological Healthy Workplace”

ความหมายของการสร้าง Psychologically healthy workplace คือ ?

“การให้ความสำคัญกับสุขภาวะและศักยภาพในการทำงานของพนักงานในองค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การทำงานที่เป็นไปได้อย่างดีที่สุด โดยคนที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนี้คือทุกคนในองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร เจ้าของกิจการ พนักงานทุกคน ไปจนถึงระบบการกำหนดขอบเขตและโครงสร้างขององค์กร”

สำหรับการสร้างความสุขให้กับการทำงานนั้น จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นได้ และส่งเสริมให้มีโอกาสที่การทำงานอย่างประสบความสำเร็จจะมีมากยิ่งขึ้น พูดได้ว่า เมื่อพนักงานมีความสุขในการทำงานแล้ว การสร้างที่พนักงานจะหาทางสร้าง Work-Life Balance ให้กับชีวิตของตัวเองก็จะเป็นสิ่งที่สะดวกมากยิ่งขึ้น และทำให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้นตามไปด้วย


โฟกัสที่ไหนก่อน | What are we should focus on?

สำหรับปัจจัยทางจิตวิทยาที่เราควรโฟกัสจนสามารถสร้างกลยุทธ์พัฒนาสุขภาพใจที่ดีให้กับพนักงานได้นั้น ก็อาจจะประกอบไปด้วย

  1. Employee motivation (การสร้างหรือเข้าใจแรงจูงใจให้กับพนักงาน)
  2. Job satisfaction (ความพึงพอใจในงานของพนักงาน)
  3. Organizational efficiency (ความมีประสิทธิภาพขององค์กรในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่)

โดยทั้ง 3 ปัจจัยนี้ เป็นเหมือนตัวแปรที่องค์กรหรือ HR ต้องคำนึงถึงว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจให้กับพนักงานและยังคงทำให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจกับงานได้อยู่ โดยที่มีทรัพยากรในการบริหารจัดการส่วนนี้อย่างจำกัด หรือเรียกได้ว่า เป็นการตั้งคำถามว่าจะมีระบบโครงสร้างใดที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพใจของพนักงานที่เหมาะกับองค์กรของเราได้บ้าง


อ่านบทความทั้งหมด >>> กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ | Strategies for Psychological Healthy Workplaces


อ่านบทความทั้งหมดของ >>> “องค์กรจะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟได้อย่างไร?: แค่จัดการความเครียดได้พนักงานก็ไม่หมดไฟในการทำงาน” (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)