เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy #3

ถอยออกมาและอย่าด่วนตัดสิน เพื่อให้หลุดพ้นจากความหมายที่ผิดเพี้ยนไปของ empathy และ self-empathy ในมุมมองที่ดูเหมือนการถูกบังคับและร้องขอ

ตอนที่ 3: Empathy VS Self-empathy

โดย นักจิตวิทยาการปรึกษา คุณเจ เจษฎา กลิ่นพูล | Counseling Psychologist @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร

เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน (empathy & self-empathy) ทั้งสองสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่แยกขาดออกจากกันไม่ได้

ถอยออกมาและอย่าด่วนตัดสิน

เพื่อให้หลุดพ้นจากความหมายที่ผิดเพี้ยนไปของ empathy และ self-empathy ในมุมมองที่ดูเหมือนการถูกบังคับและร้องขอ

  • สิ่งแรกที่เราควรทำให้ได้ คือการถอยออกมามองดูสถานการณ์ในฐานะบุคคลที่ 3 และปล่อยมือจากผู้พิพากษาในตัวเราออกไปซักระยะ การทำแบบนี้ได้จะเป็นเหมือนการที่คุณกำลังมองสถานการณ์ต่างๆ อย่างมี “สติ” โดยสิ่งที่คุณกำลังมองเห็นนั้นคือคนอื่นและตัวคุณเองที่อยู่ไกลออกไป
  • เมื่อคุณสามารถมองเห็นคนอื่นและตัวเองอย่างมีสติได้แล้ว คุณก็มีโอกาสที่จะมองเห็นโอกาสมากมายที่เกิดขึ้นได้ในตัวตนของมนุษย์ทั้งคู่ พูดง่ายๆ ก็คือ มองเห็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด มุมมอง ทัศนคติ จินตนาการ การคาดเดา ฯลฯ ที่เกิดขึ้นได้เสมอ

Empathy และ Self-empathy คือ การมองเห็นความเหมือนภายใต้ความแตกต่าง

หากคุณพอจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นได้ คุณก็มีโอกาสที่จะมองเห็นความแตกต่างระหว่าง ตัวคุณที่สวมรองเท้า กับ ตัวคุณที่ถอดรองเท้าเพื่อมองตัวเอง เหมือนกัน

อย่างที่บอกว่าการเข้าอกเข้าใจคนอื่นเปรียบเหมือนการเอาตัวเองไปสวมรองเท้าของอีกฝ่าย แต่แค่นั้นก็ไม่เพียงพอจะทำให้เราเข้าอกเข้าใจคนอื่นได้หากเราไม่ถอดรองเท้าของตัวเองออกไปด้วย การเข้าอกเข้าใจคนอื่นจึงต้องเป็นการมองเห็นความเหมือนที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความแตกต่างระหว่างคุณกับอีกฝ่ายให้ได้จึงจะพอมีช่องทางให้เข้าถึงประสบการณ์แบบเดียวกัน โดยหนึ่งในนั้นคือ “ความเป็นมนุษย์” ของคุณทั้งคู่

เพราะไม่ว่าตัวคุณและคนอื่นจะแตกต่างกันมากแค่ไหน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึกรู้สา แม้จะมีมุมมองเป็นของตัวเองตามที่รู้มา อารมณ์ความรู้สึกจึงอาจเป็นสิ่งเดียวที่สากล แต่ต่างกันไปตามมุมมองที่เรามีต่อสถานการณ์

ในขณะเดียวกัน มุมมองที่มีอยู่ของคุณก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับคนอื่นหรือความจริงแท้ของโลกใบนี้ หากคุณพอจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นได้ คุณก็มีโอกาสที่จะมองเห็นความแตกต่างระหว่าง ตัวคุณที่สวมรองเท้า กับ ตัวคุณที่ถอดรองเท้าเพื่อมองตัวเอง เหมือนกัน (อย่าเชื่อทุกสิ่งที่คุณคิด!) ความเหมือนภายใต้ความแตกต่างนั้นจึงเป็นโอกาสที่คุณจะรู้สึกแบบเดียวกันกับที่คนอื่นจะรู้สึกได้

“ถ้าคนอื่นรู้สึกได้ ฉันก็รู้สึกได้” และ “ถ้าฉันรู้สึกได้ คนอื่นก็รู้สึกได้”

คำพูดนี้เป็นสิ่งที่ตอบคำถามหัวข้อของบทความว่า “เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน แบบไหนดีกว่ากัน?” เพราะทั้งสองสิ่งนี้ (empathy & self-empathy) เป็นสิ่งที่แยกขาดออกจากกันไม่ได้

ในเวลาที่คุณพยายามเข้าอกเข้าใจคนอื่น คุณก็จำเป็นต้องเข้าอกเข้าใจตัวเองว่าหากเป็นคุณจะรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์แบบเดียวกัน กลับกัน ในเวลาที่คุณพยายามจะแสดงความเห็นอกเห็นใจให้กับตัวเอง (ไม่ใช่ความสงสาร แต่ให้อภัยและเมตตาตัวเองให้มากขึ้น) คุณก็อาจต้องคิดไปพร้อมกันว่าหากคนอื่นตกอยู่ในสถานการณ์เแบบเดียวกันกับคุณ คุณอยากจะบอกอะไรกับเขา (ก็คงต้องบอกว่า “ไม่เป็นไร” ใช่มั้ยล่ะ!)


อ่านบทความทั้งหมด >>> เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy


อ่านบทความทั้งหมด >>> กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ | Strategies for Psychological Healthy Workplaces


อ่านบทความทั้งหมดของ >>> “องค์กรจะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟได้อย่างไร?: แค่จัดการความเครียดได้พนักงานก็ไม่หมดไฟในการทำงาน” (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)